ELLIOTT WAVE PRINCIPLE

ทฤษฏีอีเลียต(พื้นฐาน)


  • ในทฤษฏีนี้หลักการจดจำขั้นพื้นฐาน ให้จำว่ามีคลื่นหลักอยู่ สองประเภท คือ คลื่นส่ง(Impulse Wave) และ คลื่นย่อ(Corrective WaVe) ซึ่งคลื่นทั้งสองจะต้องมีการเคลื่อนที่ติดต่อกันเสมอถึงจะเป็นการเคลื่อนที่จบไซเคิลทั้งหมด ของคลื่นอีเลียต และในตลาดหุ้นการคลื่นที่ในรูปแบบคลื่นส่งจะมีความถี่ในเกิดอยู่บ่อยกว่าตลาดโฟเร็กซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดคลื่นลักษณะคลื่นย่อซึ่งทำให้เราต้องนำทฤษฏีคลื่นดังกล่าวมาประยุกต์ใช้เพื่อให้เราเทรดอยู่รอดในตลาดได้อย่างปลอดภัยและยั่งยืน
    Wave Degree ในทฤษฏีนี้จะมีทั้งหมด 9 ประเภทหลัก โดยสำหรับการเทรดทั่วไปแล้วเราจะนับแค่ คลื่นซับมินูเอท ถึง ไซเคิลเท่านั้น ต่อมาจะเป็นการกล่าวถึงประเภทของคลื่นส่งหรืออินเพาเวฟ โดยจะแบ่งเป็นคลื่นส่งทั้งหมด 3 ประเภทหลัก โดยทั้งสามนี้ จะยึดกฏเหล็กข้อเดียวกันทั้งหมดคือ 1.คลื่นส่งจะได้เเก่ คลื่นลูกที่ 1,3,5 และเวฟย่อยของคลื่นส่งดังกล่าวจะต้องนับ1-2-3-4-5เท่านั้น 2.คลื่นส่งลูกที่ 2 จะไม่สามารถทับซ้อนจุดเริ่มต้นคลื่นลูกแรกได้ 3.คลื่นส่งลูกที่สามารถจะไม่ใช่คลื่นที่สั้นที่สุดหรือมีขนาดเทียบเท่า คลื่นส่งที่ 1และ5 4.คลื่นส่งลูกที่ 4.ไม่สามารถทับซ้อนกับคลื่นส่งลูกแรกได้ ยกเว้นในกรณีคลื่นเป็นรูปแบบ Diagnals 5.คลื่นที่ 5 ต้องมีสัญาณไดเวอเจนคอนเฟิมทุกครั้ง และมีขนาดเท่าคลื่นลูกแรก.
    1.คลื่นส่งประเภทแรกเรียกว่า Basic Impulse wave กฏในการดูตามกฏเหล็ก 5 ข้อทุกประการ 2.คลื่นส่งประเภทต่อมาเรียกว่า Impulse with extension เป็นการยืดคลื่นให้มีความยาวมากกว่าปกติ โดยจะเกิดในเวฟ 1 3 5 เวฟใดเวฟหนึ่งเท่านั้นในตลาดส่วนใหญ่มักจะเกิดที่เวฟสาม 3.คลื่นต่อมาเรียกว่า Diagnals มีทั้งหมดสองประเถทย่อย คือ Leading Diagnals ที่จะเกิดเฉพาะต้นคลื่น อย่างเวฟแรก หรือ เวฟAเท่านั้น และ Ending Diagnals ที่จะเกิดกับคลื่นส่งและคลื่นย่อลูกสุดท้ายเท่านั้น อย่างเวฟห้า หรือ เวฟCเท่านั้น โดยหากเกิดกับคลื่นย่อ จะเรียกรูปแบบคลื่นย่อว่า Zigzagนั่นเอง.

    คลื่นย่อคือคลื่นที่มีความซับซ้อนในการนับและใช้เวลาการเคลื่อนไหวของราคาเพื่อดูว่าเป็นคลื่นย่อรูปแบบใด เราจะนับคลื่นย่อด้วย ตัวอักษร A,B,C หรือ W,X,Y หรือ W,X,Y,X,Z โดยคลื่นย่อโดยทั่วไปจะมีทั้งหมด 5 ประเภท โดยประเภทแรกมีโอกาสเกิดในตลาดมากที่สุดเราเรียกว่า Zigzag จะเกิดหลังจบคลื่นส่งไปแล้ว มีลักษณะโครงสร้างคือ 5-3-5 ต่อมาเป็นรูปแบบFlat จะมีโครงสร้างในการนับคือ 3-3-5 ซึ่งมีสามลักษณะย่อย ได้แก่ Regular Flat วิธีการสังเกตคือคลื่นB เกิดใกล้จุดเริ่มต้นของคลื่น A และคลื่นC จบต้องมีสัญญาณไดเวอเจนและจบใกล้คลื่น A ประเภทที่สองคือ Expanded Flat วิธีสังเกตุคือ คลื่นB จะเกิดสูงกว่าจุดเริ่มต้นคลื่นA และคลื่นC จะจบลึกกว่าคลื่นA และมีสัญญาณไดเวอเจนทุกครั้ง และRunning Flat วิธีสังเกตุคือมีลักษณะคล้ายRegular Flat แต่คลื่นC จะจบตื่นกว่าเวฟ A มาก ต่อมาจะเป็นรูปแบบสามเหลี่ยมหรือTriangle ซึ่งมีการแบ่งลักษณะออกเป็นทั้งหมด 8 ประเภทโดยแยกทั้งขาขึ้นและขาลง มีโคราสร้าง3-3-3-3-3 ในการนับ โดยเกิดเฉพาะคลื่นส่งที่ 4 และคลื่นย่อ Bเท่านั้น ต่อมาจะเป็นเคลื่อนย่อที่จะใช้ zigzag flat triangle มาผสมผสานรวมกัน ซึ่งจะมีความยากในการนับเป็นอย่างมาก จะแบ่งเป็นสองประเภทหลักคือ Double Three และ Triple Threeซึ่งจะมากล่าวเจาะลึกต่อไปครับ
Beyond Technical AnalysisTrend AnalysisusdxWave Analysis

면책사항