Por : Technical Analysis

ตลาดหลักทรัพย์ไทย

กังวลเศรษฐกิจฟื้นตัวช้า
ยอดการติดเชื้อโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโควิด-19 ที่ล่าช้า ทำให้นักลงทุนกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ นักลงทุนบางส่วนจึงนำหุ้นออกเทขาย ดัชนีตลาดปิดที่ 1,521.72 จุด ลดลง 5.94 จุด มูลค่าการซื้อขาย 8.27 หมื่นล้านบาท ต่างชาติเดินหน้าขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม ตลาดปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก ดัชนีดาวโจนส์และเอสแอนด์พี 500 ปรับตัวขึ้นทำจุดสูงตลอดกาล ขานรับตัวเลขการจ้างงานเดือนกรกฎาคมที่สดใส จับตาตัวเลขการจ้างงานที่แข็งแกร่งอาจส่งผลกระทบให้เฟดปรับลดวงเงินที่จะซื้อพันธบัตรเร็วกว่ากำหนด

ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นวันที่สอง ดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,513 จุด และมีจุดต่ำเก่าเป็นแนวรับถัดไปอยู่ที่ 1,501 จุด ดัชนีตลาดเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาลง สัญญาณ DMI แสดงถึงการปรับตัวลง สอดคล้องกับการเรียงตัวของเส้น MMA2 ซึ่งทำหน้าที่เป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,554 – 1,562 จุด สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นดัชนีตลาดจะปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น MMA2 ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐาน

จากกราฟรายสัปดาห์ เนื่องดัชนีตลาดปรับตัวลงปิดที่ 1,521 จุด ปิดต่ำกว่า 1,530 จุด ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้คลื่น (iv) ซ้อนทับกับคลื่น (i) ไม่เป็นไปตามหลักการ Overlapping จึงต้องนับคลื่นใหม่
คลื่นปรับคลื่น 2) จบที่ 1,187 จุด จากนั้นดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 1 จบที่ 1,642 จุด จากนั้นดัชนีตลาดจึงปรับตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Collective wave) คลื่น 2 โดยคลื่น 2 มีโอกาสพักตัวลงเข้าเป้าหมาย
- 38.2% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,468 จุด
- 50.0% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,414 จุด
- 61.8% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,360 จุด ตามลำดับ

สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,501 จุด และอยู่ในช่วงปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,530 – 1,540 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,513 – 1,504 จุด

กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต

#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Trend AnalysisWave Analysis

면책사항