วิเคราะห์ทองคำอังคารที่ 29 มิถุนายน 2564 (ภาคบ่าย)

ทองคำตลาดนิวยอร์กวานนี้ยังอยู่ช่วงภาวะผันผวนปิดลบ 2.9 ดอลลาร์

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค. เมื่อวานนี้เปิดตลาดที่ระดับราคา 1,782 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทำจุดสูงสุดระหว่างวันได้ที่ระดับ 1,786.10 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และจุดต่ำสุดระหว่างวัน 1,770.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ปิดราคาที่ระดับ 1,780.70 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ปรับลดลง 2.9 ดอลลาร์ หรือ -0.16%

การเคลื่อนไหวราคาทองคำวานนี้เคลื่อนไหวท่ามกลางปัจจัยบวกและลบที่เข้ามาสร้างความผันผวนให้ตลาดต่อเนื่องทั้งวัน ภาพรวมแล้วทองคำยังได้รับอิทธิพลแรงกดดันจากการแข็งค่าของดัชนีดอลลาร์เป็นหลัก โดยดัชนีดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้น +0.08% ซึ่งเป็นผลจาการเปิดเผยตัวเลขดัชนีภาคการผลิตรัฐเท็กซัสที่ดีดตัวสูงสู่ระดับ 29.4 จุดในเดือน มิ.ย. จากระดับ 15.7 ในเพือนพ.ค. ซึ่งเป็นการบ่งชี้ถึงการขยายตัวของภาคการผลิตในรัฐเท็กซัส นอกจากนี้เองดอลลาร์ยังได้รับการปรับแข็งค่าจากคำแถลงการณ์ของนายโธมัส บาร์กิ้ง ประธานเฟดริชมอนด์ ที่ออกมาให้คำแถลงว่า “เศรษฐกิจสหรัฐมีความคืบหน้าอย่างมาก ในการนำไปสู่เป้าหมายด้านเงินเฟ้อ ซึ่งก็เพียงพอที่เฟดจะเริ่มลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณหรือ QE และเขายังมีมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับตลาดแรงงาน จึงเป็นสาเหตุให้นักลงทุนวิตกว่าหากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรที่กำลังจะเปิดเผยในวันศุกร์ที่จะถึงนี้ออกมาแข็งแกร่งกว่าที่นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ไว้นั้น อาจจะเป็นประเด็นสนับสนุนให้เฟดเร่งการถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการเงิน สถานการณ์ที่ว่ามาจึงส่งผลให้นักลงทุนยังคงเทขายทองคำออกมาเป็นระยะ แต่เมื่อราคาทองคำเคลื่อนตัวไปในแนวรับด้านล่างก็ยังพอมีแรงซื้อเข้ามาช้อนซื้อทองคำไว้เช่นกัน และทองคำยังได้รับแรงหนุนบางส่วนจากความกังวลเรื่องการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าที่กำลังจะระบาดหนักในหลายประเทศทั่วโลก

ประเมินทางเทคนิควันนี้
ราคาทองคำเช้าวันนี้ยังเคลื่อนตัวปรับลงในแนวรับบริเวณ 1,774 – 1,767 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากมีแรงชื้อเข้ามาหนุนในช่วงบ่ายอาจพอมีแนวโน้มให้ราคาทองคำปรับขึ้นทดสอบแนวต้านเดิมที่บริเวณ 1,780-1,785 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่คาดว่าอาจเป็นแรงซื้อที่ค่อนข้างจำกัด จึงไม่แนะนำให้ถือสัญญาซื้อขายในระยะยาวสำหรับการเทรดทองคำในเวลานี้ เนื่องจากความผันผวนของราคาทองคำยังเคลื่อนไหวในกรอบแคบ จึงแนะนำนักลงทุนให้เฝ้ารอสถานะการณ์ที่ราคาปรับทิศทางก่อนจะดีกว่า หากจะเข้าทำการซื้อขายทองคำเวลานี้ก็ให้เข้าซื้อขายในระยะสั้นๆ เท่านั้น โดยเปิดการซื้อขายตามทิศทางการเคลื่อนไหวของราคา
กลยุทธ์การเทรดทองคำกรอบรายชั่วโมง
Long Position : รอซื้อทองคำบริเวณแนวรับ 1,767-1,774 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากราคากลับมาทรงตัวได้ที่บริเวณดังกล่าว เน้นการเข้าทำกำไรระยะสั้น พิจารณาทำกำไรได้ที่บริเวณแนวต้าน 1,780-1,785 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากราคาทองคำปรับตัวต่ำกว่า 1,767 ดอลลาร์ต่อออนซ์) แต่หากราคาทองคำสามารถผ่านแนวต้านดังกล่าวได้นั้น ก็ให้ชะลอการปิดทำกำไรบางส่วนออกไปก่อน ประเมินแนวต้านบริเวณถัดไปที่ 1,787-1,795 ดอลลาร์ต่อออนซ์
Short Position : รอขายทองคำบริเวณแนวต้าน 1,780-1,785 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากราคาทองคำไม่สามารถผ่านแนวต้านดังกล่าวได้ให้เปิดคำสั่ง “ขาย” เน้นการเข้าเก็งกำไรระยะสั้นเท่านั้น ประเมินพิจารณาปิดทำกำไรได้ที่บริเวณแนวรับ 1,767-1,774 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากราคาทองคำปรับตัวสูงกว่า 1,785 ดอลลาร์ต่อออนซ์)

แนวโน้มทองคำในวันนี้
-----------------------------------------
1H : Down trend
-----------------------------------------
4H : Down trend
-----------------------------------------
DAY : Down trend
-----------------------------------------
Week : Up trend
-----------------------------------------
Month : Up trend
-----------------------------------------

แนวรับแนวต้านทองคำกรอบรายชั่วโมง
---------------------------------------------------
Support : 1,767 / 1,741 / 1,709
---------------------------------------------------
Resistance : 1,787 / 1,803 / 1,814
---------------------------------------------------

สถานการณ์ถือครองทองคำของกองทุน (25/06/21) SPDR
- ถารถือครองทองคำ : ซื้อเพิ่ม 2.91 ตัน
- เข้าซื้อขายทองคำล่าสุดที่ระดับราคา : 1,778.40
- ปัจจุบันถือครองทองคำทั้งสิ้นสุทธิ : 1,045.78 ตัน
- ปรับเปลี่ยนแปลงราคาทั้งสิ้น : 13 ครั้ง
- รวมการเปลี่ยนแปลงการถือครองในเดือนทั้งสิ้น : +2.57 ตัน

*การลงทุนมีความเสี่ยงโปรดใช้วิจารณญาณให้รอบคอบก่อนการลงทุนทุกครั้ง
**การวิเคราะห์เป็นเพียงการตั้งค่าสมมุติฐานค่าสถิติจากอดีตถึงความน่าจะเป็นในปัจจุบันและอนาคต จึงไม่ได้เป็นเครื่องมือการันตีการทำผลกำไรจากการลงทุนได้ 100%

FibonacciGoldgoldanalysisSupply and DemandSupport and ResistanceXAUUSDxpowerteam

또한 다음에서도:

면책사항